...

  การเปรียบเทียบสิ่งของสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เปรียบเทียบทีละชิ้น หรือแบ่งสิ่งของออกเป็นกลุ่มแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน วิธีการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ มีได้หลายวิธี แต่ละวิธีอาจมีจำนวนขั้นตอนที่ไม่เท่ากัน แต่สามารถแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการหาคำตอบที่ได้ในแต่ละวิธีนี้ ล้วนเป็นวิธีการที่มีความสมเหตุผลที่นำไปสู่ข้อสรุปของปัญหาได้ เรียกว่า การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา

  การออกแบบหรือวางแผนขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้เข้าใจขั้นตอนและเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนขึ้น 

ตรวจสอบย้อนกลับเมื่อพบข้อผิดพลาดในการทำงานได้

มาตรฐาน  ว 4.2  เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ตัวชี้วัด

ป.6/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันได้

สาระการเรียนรู้
การแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยเขียนรหัสลำลอง หรือเขียนผังงาน ผังงาน (flowchart) ใช้ออกแบบหรือวางแผนขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้เข้าใจขั้นตอนและเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนขึ้น และสามารถตรวจสอบ ย้อนกลับเมื่อพบข้อผิดพลาดในการทำงานได้ นอกจากนี้เราสามารถใช้ผังงาน แสดงขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วย สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียน ผังงาน เช่น เริ่มต้น/จบ การปฏิบัติงาน การตัดสินใจ ทิศทาง