รูปแบบของการการระรานทางไซเบอร์ มีหลากหลายรูปแบบแต่ที่เราพบเจอกันได้บ่อย ๆ เช่น
1. การก่อกวนทางไซเบอร์ (Trolling) การตั้งใจโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นที่ยั่วยุทําให้ผู้อ่าน ไม่สบายใจ หรือเข้าใจผิด มักเกิดขึ้นกับการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนอื่น เป็นการจงใจ สร้างความหงุดหงิดรําคาญมากกว่าการให้กำลังใจ หรือชื่นชม
2. การรังควานทางไซเบอร์ (Cyber Harassment) เป็นขั้นที่รุนแรงกว่าการก่อกวน มีลักษณะ ที่แสดงถึงการคุกคามอย่างชัดเจน เช่น การใช้ถ้อยคําหยาบคายการแสดงออกถึงความรุนแรง ให้ความรู้สึกถูกคุกคาม และไม่ปลอดภัย การส่งข้อความหรือรูปภาพทางเพศที่ไม่เหมาะสม, การคุกคามทางเพศ
3. การสะกดรอยทางไซเบอร์ (Cyberstalking) การสะกดรอย การถูกส่งข้อความ หรือติดตาม
จากบุคลที่เราไม่ต้องการบนโลกออนไลน์, อาจจะเป็นคนรู้จักหรือคนแปลกหน้าที่มุ่งเป้าหมายมาที่เราด้วยความชอบ, ความโกรธ-เกลียด ที่ก่อความรําคาญไปจนถึง คุกคามหรือข่มขู่ สร้างความหวาดระแวงให้กับเรา และอาจจะลุกลามไปจนถึงการติดตามจริงในโลกความจริงได้
4. การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyber Bully) คือการกลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยาม ข่มเหงให้เสียใจ
การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ มีหลายลักษณะตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงทําให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้
จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ปี 2562 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่
1) การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การด่าทอ / ประจาน (Flaming)
2) การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่
3) การเผยแพร่ความลับ
4) การกีดกันออกจากกลุ่ม (Exclusion) กีดกันผู้อื่นออกจากกลุ่มเพื่อน หรือกิจกรรมต่างๆ การแพร่กระจายข่าวลือ ไม่เชิญผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรม หรือโพสต์ข้อความเพื่อแกล้งว่าผู้อื่นไม่มีเพื่อน
5) การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม (Impersonation) แอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เพื่อสร้างความเสียหาย ใช้บัญชีปลอมเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เช่น การสวมรอยเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์ หรือสร้างความเข้าใจผิด
6) การขโมยอัตลักษณ์ (Identity Theft) การหาผลประโยชน์ของบุคคล เจ้าของผลงาน โดยไม่ได้รับอนุญาต ในทางที่ผิดกฎหมาย
7) การล่อลวง