การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
บนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมาย ทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ไม่จริง หรือที่เรียกว่า "ข่าวปลอม" ข่าวปลอมคือข้อมูลที่ไม่จริงที่ตั้งใจจะหลอกเรา
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
บนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมาย ทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ไม่จริง หรือที่เรียกว่า "ข่าวปลอม" ข่าวปลอมคือข้อมูลที่ไม่จริงที่ตั้งใจจะหลอกเรา
1. การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีมารยาทและการค้นหาข้อมูล
การที่เราเป็นคนดี มีน้ำใจ และเข้าใจผู้อื่นในชีวิตจริง ก็สำคัญบนโลกออนไลน์ด้วยนะ ทุกสิ่งที่เราค้นหาบนอินเทอร์เน็ตก็จะถูกบันทึกไว้หมดเลย ดังนั้น เราควรค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์นะคะ
น้องต้นกล้าชอบดูวิดีโอสอนวาดรูปบนอินเทอร์เน็ต เขาก็จะค้นหาคำว่า "สอนวาดรูปน่ารัก" หรือ "วาดการ์ตูนง่ายๆ" และไม่ค้นหาคำที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ไม่เหมาะกับวัยของเขาเลย
ถ้าเราอยากหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของเรา น้องๆ คิดว่าเราควรจะค้นหาคำแบบไหนดีนะ?
เราควรค้นหาคำที่ชัดเจน เช่น "วิธีการเลี้ยงปลาทอง" หรือ "อาหารของแมว" เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ค่ะ
2. การหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
บนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์เยอะแยะไปหมดเลย บางเว็บก็ดี บางเว็บก็อาจจะไม่เหมาะกับน้องๆ
น้องน้ำใสได้รับข้อความที่มีลิงก์แปลกๆ ที่ไม่รู้จักผู้ส่ง คุณแม่เคยสอนว่า "ถ้าไม่รู้จักหรือไม่มั่นใจ ห้ามกดนะลูก" น้องน้ำใสจึงไม่ได้กดลิงก์นั้น และนำไปบอกคุณแม่ทันที
ถ้าเราเจอเว็บที่ดูแปลกๆ หรือไม่รู้จักชื่อเว็บเลย เราควรทำยังไงดีนะ?
ไม่ควรกดเข้าไปดูหรือกดลิงก์นั้นเด็ดขาด
และถ้าไม่แน่ใจให้ถามผู้ใหญ่ที่น้องๆ ไว้ใจ
เช่น คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู เพื่อขอคำแนะนำนะคะ
3. การแจ้งครูหรือผู้ปกครองเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัย
บางครั้งเราอาจจะเผลอไปเจอเนื้อหาหรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสมโดยบังเอิญ หากน้องๆ เจออะไรที่รู้สึกไม่สบายใจ หรือไม่แน่ใจว่าปลอดภัยไหม ควรปรึกษาผู้ใหญ่ทันที ที่น้องๆ ไว้ใจ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครู
น้องปริมกำลังดูการ์ตูนออนไลน์อยู่ แต่จู่ๆ ก็มีโฆษณาแปลกๆ เด้งขึ้นมา น้องปริมนึกขึ้นได้ว่าคุณแม่เคยบอกให้รีบเรียกคุณแม่ถ้าเจออะไรแปลกๆ จึงรีบเรียกคุณแม่มาช่วยดูทันที
4. การคิดก่อนโพสต์หรือแชร์ข้อมูลออนไลน์
ทุกสิ่งที่เราโพสต์ แสดงความคิดเห็น หรือกด "ส่ง" ออกไปบนโลกออนไลน์ จะกลายเป็นรอยเท้าดิจิทัลที่ไม่สามารถลบได้เลยนะ มันจะอยู่บนอินเทอร์เน็ตตลอดไป การแชร์ข้อมูลมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดีนะ
น้องฟ้ากำลังจะโพสต์รูปที่อยู่บ้านของตัวเองลงในโซเชียลมีเดีย แต่ก็คิดขึ้นได้ว่า "ถ้าคนที่ไม่รู้จักรู้ที่อยู่ของเรา อาจจะไม่ปลอดภัยนะ" น้องฟ้าจึงเปลี่ยนใจไม่โพสต์รูปนั้น แต่เลือกโพสต์รูปวาดที่เธอวาดแทน
ถ้าเราอยากจะโพสต์รูปหรือข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ต เราควรคิดถึงอะไรก่อนกด "ส่ง" นะ?
ควรคิดว่าสิ่งที่เราโพสต์จะอยู่ตลอดไป ลบไม่ได้แล้วนะ และคนอื่นเห็นแล้วจะรู้สึกยังไงบ้าง? เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี? เหมาะสมหรือไม่?
5. การค้นหาข้อมูล และการแยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น
บนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมาย ทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ไม่จริง หรือที่เรียกว่า "ข่าวปลอม" ข่าวปลอมคือข้อมูลที่ไม่จริงที่ตั้งใจจะหลอกเรานะ บางข่าวอาจจะมีเรื่องจริงอยู่บ้าง แต่ก็เขียนแบบมีอคติ
เรามี 4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการตรวจสอบข้อมูลที่เราเจอจากอินเทอร์เน็ตได้นะ:
Source (แหล่งที่มา): ข้อมูลนี้มาจากไหน? น่าเชื่อถือไหม?
Understand (ทำความเข้าใจ): ลองอ่านและคิดวิเคราะห์ดู มองหาเรื่องจริง ไม่ใช่แค่ความคิดเห็น
Research (ค้นหาเพิ่มเติม): ลองหาข้อมูลเรื่องเดียวกันจากหลายๆ ที่ดูนะ
Evaluate (ประเมิน): ลองเปรียบเทียบข้อมูลที่เราหามาได้ และตัดสินใจอย่างเป็นกลาง
น้องดีใจอ่านข่าวในอินเทอร์เน็ตว่า "สัตว์เลี้ยงพูดได้" น้องดีใจไม่เชื่อในทันที จึงชวนคุณพ่อมาช่วยกันค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ข่าวอื่นๆ และอ่านบทความวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ คุณพ่อกับน้องดีใจจึงรู้ว่านั่นเป็นแค่เรื่องที่แต่งขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องจริง
เวลาเราอ่านข่าวบนอินเทอร์เน็ต เราจะรู้ได้ยังไงว่าอันไหนคือ "เรื่องจริง" ไม่ใช่แค่ "ความคิดเห็น" ของคนอื่น?
เราต้องลองดูว่าข่าวนี้มีที่มาจากไหน น่าเชื่อถือไหม และลองหาข้อมูลเรื่องเดียวกันจากหลายๆ ที่ดูนะ เพื่อดูว่าข้อมูลตรงกันหรือเปล่า
เวลาเราอ่านข่าวบนอินเทอร์เน็ต เราจะรู้ได้ยังไงว่าอันไหนคือ "เรื่องจริง" ไม่ใช่แค่ "ความคิดเห็น" ของคนอื่น?
เราต้องลองดูว่าข่าวนี้มีที่มาจากไหน น่าเชื่อถือไหม และลองหาข้อมูลเรื่องเดียวกันจากหลายๆ ที่ดูนะ เพื่อดูว่าข้อมูลตรงกันหรือเปล่า
6. การตระหนักถึงการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ เช่น ปวดคอ คอยื่น สายตาสั้น หรือปวดหัว และอาจทำให้เราหงุดหงิดง่ายด้วยนะ การติดอินเทอร์เน็ตมากไปอาจทำให้เราไม่อยากออกไปเล่นกับเพื่อนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สนุกๆ และอาจทำให้เราพูดคุยกับคนรอบข้างน้อยลงด้วย
น้องภูผาชอบเล่นเกมบนแท็บเล็ตมากจนบางทีก็ลืมเวลา คุณแม่จึงกำหนดเวลาให้เล่น และชวนน้องภูผาไปเล่นกีฬาที่สวนสาธารณะแทน ทำให้น้องภูผามีสุขภาพแข็งแรงและได้อยู่กับคุณแม่มากขึ้น
ทำไมการที่เราเล่นโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์นานเกินไปถึงไม่ดีกับตัวเรา?
เพราะอาจทำให้เราปวดตา ปวดคอ หรือปวดหลังได้ และอาจทำให้เราไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สนุกๆ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา หรืออยู่กับเพื่อนและครอบครัว
7. การละเมิดความเป็นส่วนตัว
การละเมิดความเป็นส่วนตัว คือสิทธิ์ที่เราจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราไว้เป็นความลับ ไม่ให้คนอื่นรู้ หรือไม่ให้คนอื่นเอาข้อมูลของเราไปใช้โดยที่เราไม่อนุญาต
ข้อมูลส่วนตัว ของเรา ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลจริง, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่บ้าน, รูปภาพส่วนตัว, เรื่องราวส่วนตัว ที่เราไม่ได้อยากให้ใครรู้
การละเมิดความเป็นส่วนตัว คือการที่เราไปเอาข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นมาใช้ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น:
แอบถ่ายรูปเพื่อนตอนที่เพื่อนเผลอ แล้วเอาไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย, แอบไปอ่านไดอารี่ของเพื่อน, นำเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนไปให้คนอื่นโดยที่เพื่อนไม่อนุญาต
น้องฟ้ากำลังเล่นเกมออนไลน์อยู่ และมีผู้เล่นคนหนึ่งพยายามขอข้อมูลส่วนตัวของน้องฟ้า เช่น ชื่อจริง โรงเรียน หรือเบอร์โทรศัพท์ โดยอ้างว่าจะส่งของขวัญในเกมมาให้
น้องฟ้าควรทำอย่างไรในสถานการณ์นี้ และทำไมการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้าออนไลน์จึงเป็นเรื่องอันตราย?
ควรปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวและรีบบอกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ทันทีครับ (เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคุณครู) ไม่ควรให้ข้อมูลใดๆ เลย เพราะอาจถูกหลอกลวง, อาจถูกสะกดรอยตาม, อาจถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ดี และอาจถูกกลั่นแกล้ง
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีมารยาทและการค้นหาข้อมูล สิ่งที่เราค้นหาบนอินเทอร์เน็ตจะถูกบันทึกไว้หมด ดังนั้นเราควรค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ควรค้นหาคำที่ชัดเจน เช่น "วิธีการเลี้ยงปลาทอง" เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
การหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หากเจอเว็บที่ดูแปลกๆ หรือไม่รู้จักชื่อเว็บเลย ไม่ควรกดเข้าไปดูหรือกดลิงก์นั้นเด็ดขาด และถ้าไม่แน่ใจให้ถามผู้ใหญ่ที่ไว้ใจก่อน
การแจ้งครูหรือผู้ปกครองเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัย หากบังเอิญเจอเนื้อหาหรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสม และรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่แน่ใจว่าปลอดภัยไหม ควรปรึกษาผู้ใหญ่ทันที ที่เราไว้ใจ เช่น คุณพ่อ, คุณแม่, หรือคุณครู
การคิดก่อนโพสต์หรือแชร์ข้อมูลออนไลน์ ทุกสิ่งที่เราโพสต์, แสดงความคิดเห็น, หรือกด "ส่ง" ออกไปบนโลกออนไลน์ จะกลายเป็นรอยเท้าดิจิทัลที่ไม่สามารถลบได้และจะอยู่ตลอดไป การแชร์ข้อมูลมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี ควรคิดก่อนกด "ส่ง" ว่าสิ่งที่เราโพสต์จะอยู่ตลอดไปหรือไม่ และคนอื่นเห็นแล้วจะรู้สึกอย่างไร
การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง และการแยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น เรามี 4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการตรวจสอบข้อมูลที่เราเจอจากอินเทอร์เน็ต (S.U.R.E.) ได้แก่
Source (แหล่งที่มา): ข้อมูลนี้มาจากไหน? น่าเชื่อถือไหม?
Understand (ทำความเข้าใจ): ลองอ่านและคิดวิเคราะห์ดู มองหาเรื่องจริง ไม่ใช่แค่ความคิดเห็น
Research (ค้นหาเพิ่มเติม): ลองหาข้อมูลเรื่องเดียวกันจากหลายๆ ที่ดู
Evaluate (ประเมิน): ลองเปรียบเทียบข้อมูลที่เราหามาได้ และตัดสินใจอย่างเป็นกลาง หากเห็นข่าวแปลกๆ หรือข้อมูลที่ไม่จริงในโลกออนไลน์ ไม่ควรกดไลก์, กดแชร์, หรือแสดงความคิดเห็นทันที ควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่ และถ้าไม่แน่ใจหรือรู้ว่าเป็นข่าวปลอม ควรแจ้งผู้ใหญ่ให้ทราบ เพราะการแชร์ข่าวปลอมเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและอาจผิดกฎหมาย
เราจะปกป้องตัวเองได้ โดย
คิดก่อนคลิก: ก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์อะไรลงในอินเทอร์เน็ต ให้คิดก่อนเสมอว่า "สิ่งนี้เป็นของใคร?", "ฉันได้รับอนุญาตให้ใช้สิ่งนี้ไหม?", "ถ้าเป็นฉัน ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าคนอื่นเอาสิ่งนี้ไปใช้?"
ขออนุญาตเสมอ: ถ้าอยากจะใช้รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลของคนอื่น ให้ ขออนุญาต จากเจ้าของก่อนเสมอ
ให้เครดิต: ถ้าได้รับอนุญาตให้นำไปใช้ ก็อย่าลืม ให้เครดิต หรือบอกว่าผลงานนั้นเป็นของใคร
ดูแลข้อมูลส่วนตัว: อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อจริง เบอร์โทรศัพท์ หรือที่อยู่บ้าน ให้กับคนแปลกหน้า หรือโพสต์ลงในอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น
บอกผู้ใหญ่: ถ้ามีใครมาละเมิดลิขสิทธิ์หรือความเป็นส่วนตัวของเรา หรือถ้าเราเจอสถานการณ์ที่ไม่แน่ใจ ให้รีบ บอกพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคุณครู ทันที
การเคารพสิทธิของผู้อื่นในการใช้เทคโนโลยี / การแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม / การมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี เราต้องระวังไม่ให้ความคิดเห็นของเราไปทำร้ายคนอื่น หรือทำให้คนอื่นเสียชื่อเสียง การตัดต่อรูปภาพของคนอื่นให้เสียหายก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและอาจผิดกฎหมายได้ การใช้โลกออนไลน์ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่โพสต์ข่าวปลอม หรือข้อความที่หลอกลวง เพราะอาจทำให้คนอื่นเดือดร้อนและผิดกฎหมายได้ หากพบเห็นข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือคนที่ทำตัวไม่ดีในโลกออนไลน์ ควร บล็อก (Block) บุคคลนั้น และ รายงาน (Report) บัญชีของเขาให้ผู้ดูแลระบบทราบ เก็บหลักฐาน และรีบปรึกษาผู้ใหญ่ทันที