...
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด
ป.6/3 ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมี ประสิทธิภาพ
ป.6/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพ ในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
รู้จักวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
สาระการเรียนรู้
อันตรายจากการใช้งานและอาชญากรรม ทางอินเทอร์เน็ต แนวทางในการป้องกัน วิธีกำหนดรหัสผ่าน การกำหนดสิทธิ์การใช้งาน (สิทธิ์ในการเข้าถึง) แนวทางการตรวจสอบและป้องกัน มัลแวร์อันตรายจากการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
...
...
...
การระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying) ราชบัณฑิตยสภาได้ให้ความหมายคำว่า Cyberbullying
ว่าคือ “การระรานทางไซเบอร์” หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เป็นต้น โดยต้องการให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่พอใจหรือเจ็บปวดทางด้านอารมณ์จิตใจ เกิดความ อับอาย หวาดกลัว หวาดระแวง รู้สึกโดดเดี่ยว เศร้าหมอง ท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้ค่า บางคนนอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เจ็บป่วย ทำร้ายตนเอง และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
...
รูปแบบของการการระรานทางไซเบอร์ มีหลากหลายรูปแบบแต่ที่เราพบเจอกันได้บ่อย ๆ เช่น
1. การก่อกวนทางไซเบอร์ (Trolling) การตั้งใจโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นที่ยั่วยุทําให้ผู้อ่าน ไม่สบายใจ หรือเข้าใจผิด มักเกิดขึ้นกับการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนอื่น เป็นการจงใจ สร้างความหงุดหงิดรําคาญมากกว่าการให้กำลังใจ หรือชื่นชม
2. การรังควานทางไซเบอร์ (Cyber Harassment) เป็นขั้นที่รุนแรงกว่าการก่อกวน มีลักษณะ ที่แสดงถึงการคุกคามอย่างชัดเจน เช่น การใช้ถ้อยคําหยาบคายการแสดงออกถึงความรุนแรง ให้ความรู้สึกถูกคุกคาม และไม่ปลอดภัย การส่งข้อความหรือรูปภาพทางเพศที่ไม่เหมาะสม, การคุกคามทางเพศ
3. การสะกดรอยทางไซเบอร์ (Cyberstalking) การสะกดรอย การถูกส่งข้อความ หรือติดตาม
จากบุคลที่เราไม่ต้องการบนโลกออนไลน์, อาจจะเป็นคนรู้จักหรือคนแปลกหน้าที่มุ่งเป้าหมายมาที่เราด้วยความชอบ, ความโกรธ-เกลียด ที่ก่อความรําคาญไปจนถึง คุกคามหรือข่มขู่ สร้างความหวาดระแวงให้กับเรา และอาจจะลุกลามไปจนถึงการติดตามจริงในโลกความจริงได้
4. การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyber Bully) คือการกลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยาม ข่มเหงให้เสียใจ
การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ มีหลายลักษณะตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงทําให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้
จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ปี 2562 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่
1) การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การด่าทอ / ประจาน (Flaming)
2) การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่
3) การเผยแพร่ความลับ
4) การกีดกันออกจากกลุ่ม (Exclusion) กีดกันผู้อื่นออกจากกลุ่มเพื่อน หรือกิจกรรมต่างๆ การแพร่กระจายข่าวลือ ไม่เชิญผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรม หรือโพสต์ข้อความเพื่อแกล้งว่าผู้อื่นไม่มีเพื่อน
5) การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม (Impersonation) แอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เพื่อสร้างความเสียหาย ใช้บัญชีปลอมเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เช่น การสวมรอยเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์ หรือสร้างความเข้าใจผิด
6) การขโมยอัตลักษณ์ (Identity Theft) การหาผลประโยชน์ของบุคคล เจ้าของผลงาน โดยไม่ได้รับอนุญาต ในทางที่ผิดกฎหมาย
7) การล่อลวง
...
การระรานทางไซเบอร์สามารถทำให้ผู้ที่เป็นเป้าหมายรู้สึกเศร้าหรือเสียใจ มีความไม่สบายใจ
และสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองได้ ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์อาจเผชิญกับปัญหาทางความสัมพันธ์ และสามารถเสียชีวิตจากการกลั่นแกล้งออนไลน์ได้ในกรณีที่มีการกดดันหรือความเครียดที่เกิดขึ้น
ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ :
ทำให้รู้สึกเสียใจ อับอาย รู้สึกว่าตัวเองโง่ หวาดกลัว หรือโกรธ รู้สึกอาย หรือหมดความสนใจในสิ่งที่เรารักหรือชอบ รู้สึกเหนื่อยล้า (อาจเป็นผลมาจากการนอนไม่หลับ) หรือมีอาการปวดท้อง ปวดหัว
หลอนว่ากำลังถูกคนอื่นหัวเราะเยาะหรือถูกคุกคาม ทำให้บางคนไม่อยากจะลุกขึ้นพูดหรือพยายามจัดการ
กับปัญหาใด ๆ และกรณีรุนแรงที่สุดไซเบอร์บูลลี่สามารถทำให้ผู้ถูกกระทำเลือกที่จะจบชีวิตของตนเองได้เลย
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ :
ความเสียหายที่เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัล อาจไม่ได้จำกัดอยู่บนโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียว
การกลั่นแกล้งตอบโต้กันไปอาจตกอยู่ในสายตาคนนับร้อยนับพันที่ระบบป้อนให้เห็น นำมาซึ่งความกดดัน
ทางสังคมและความสัมพันกับคนรอบข้างไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาจทำให้สูญเสียเพื่อน หรือถูกกีดกันทางสังคมได้
ส่งผลต่อการเรียน หรือการทำงาน :
เมื่อสภาพร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นนัก ย่อมส่งผลต่อสมาธิ และความสามารถ
ในการทำงาน แม้บางครั้งอาจเป็นเพียงการกลั่นแกล้งของเพื่อนสนิทก็อาจก่อความกังวลใจ
มากกว่าที่คิด รวมถึงกรณีการถูกกลั่นแกล้งให้เสียชื่อเสียงซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงการการทำงาน
ในสภาพแวดล้อมที่ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญ
ที่มาของภาพ
ได้รับการอนุญาตจากนักเรียนชั้น ป.6/2567 โรงเรียนเมืองเลย
ที่มาของภาพ
ได้รับการอนุญาตจากนักเรียนชั้น ป.6/2567 โรงเรียนเมืองเลย
สัญญาณที่บอกว่าเรากำลังถูกระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
การระรานทางไซเบอร์ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในโลกดิจิทัล เราควรระมัดระวังและ
เพื่อไม่ให้ตัวเราหรือบุคคลรอบข้างได้รับความเสียหายจากคำพูดหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่เราพบเจอกันได้บ่อย ๆ เช่น
มีการแสดงความคิดเห็น หรือคอมเมนต์ไปในทางดูถูก ดูหมิ่น ล้อเลียนบุคคล ใส่ร้าย หรือยุยงให้เราอารมณ์เสีย ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อตั้งต้น
สร้างข่าวลือ หรือโพสต์ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ส่งต่อข่าวลือ หรือเรื่องราวเสียหายของเราบนโลกออนไลน์
แชร์ หรือส่งภาพที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือข้อความที่น่ากลัว ทําร้ายจิตใจมาให้
มีการนำข้อมูลของเราไปแอบอ้าง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ หรือรูปภาพ สร้างบัญชีตัวตนปลอมของเราเพื่อให้เราเข้าไปตอบโต้ พูดคุยด้วย
มีพฤติกรรมการระราน มีการส่งข้อความรังควานอย่างต่อเนื่องแม้เราจะบอกให้หยุดแล้วก็ตาม
...
5 ขั้นตอน รับมือความเสี่ยงจากการระรานทางไซเบอร์
1. STOP หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน หยุดตอบโต้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทําซ้ำ หรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น ตั้งสติ แล้วพิจารณาอย่างรอบคอบ
2. BLOCK ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก กดบล็อคบัญชีออนไลน์ที่กลั่นแกล้งเรา
3. TELL บอกพ่อแม่ ครู หรือบุคคลที่ไว้ใจ เพื่อขอความช่วยเหลือ หากเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือถูกข่มขู่คุกคาม ให้เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กระทําและเหตุการณ์ เก็บหลักฐานการกลั่นแกล้งทั้งหมด
4. REMOVE ลบภาพหรือข้อความที่ถูกระรานหรือรังแกออกทันที แจ้งเจ้าหน้าที่หรือผู้ดูแลระบบ รายงานปัญหาเกี่ยวกับบัญชีที่กลั่นแกล้งเรา ให้ระบบดำเนินการต่อไป
5. BE STRONG เข้มแข็ง อดทน ยิ้มสู้ อย่าไปให้คุณค่ากับคนหรือคําพูดที่ทําร้ายเรา ควรใช้เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
...
...
...
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมถึงกัน เป็นโอกาสให้ติดต่อสื่อสาร และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ขณะเดียวกันหากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด และหาผลประโยชน์
เพื่อให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างปลอดภัยต่อทั้งบุคคล และตัวอุปกรณ์
เราจึงต้องเรียนรู้แนวทางการป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต
1. การกำหนดรหัสผ่าน และสิทธิ์การใช้งาน เพราะการกำหนดรหัสผ่านและสิทธิ์การใช้งานเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เราใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย
2. การกำหนดสิทธิ์การใช้งาน ปัจจุบันเรามักต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกับผู้อื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อนๆ จึงควรเรียนรู้วิธีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งเป็นการป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีมาเข้าถึง ดัดแปลง หรือขโมยข้อมูล
...
...
ใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้ปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงควรศึกษาการใช้งานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
การป้องกันข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลส่วนตัว คือข้อมูลที่ระบุตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เช่น ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ บัญชีธนาคาร ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Password)
ทำไมต้องป้องกันข้อมูลส่วนตัว ...
เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลส่วนตัวของเพื่อนๆ ไปใช้
หรือนำไปปลอมแปลง เช่น นำไปถอนเงินจากบัญชีธนาคาร
ข้อมูลส่วนตัวประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
...
ในบางครั้งข้อมูลดังกล่าว เราอาจะใช้ทำธุรกรรม แต่ก็ไม่ควรให้คนแปลกหน้า โดยไม่รู้ที่มาหรือไม่รู้จักบุคคลที่ขอข้อมูลเรา
ข้อมูลเลขบัตรประชาชนและหลังบัตร
เบอร์โทรศัพท์ไม่ควรให้คนแปลกหน้า
รหัสผ่านต้องรัดกุม
บัญชีธนาคาร
รูปถ่ายส่วนตัว
ที่อยู่
หนังสือเดินทาง
ทะเบียนรถ
...
ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์ อีเมล หรือจดหมาย หลอกว่าได้รับรางวัล
ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์ อีเมล จดหมาย หลอกว่าได้ติดหนี้ หรือต้องชำระเงิน
ถูกแอบอ้างความเป็นเจ้าของบ้าน จากข้อมูลที่อยู่
ถูกนำบัญชีออนไลน์ของเรา ไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น หลอกลวงผู้อื่น
ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
...
แหล่งที่มาของข้อมูล
https://blog.think-digital.app/2024/05/07/cyber-bullying
https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:271595
(2565). คู่มือคนไทย go cyber (ฉบับวัยใส): การสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ต (digital citizen). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.